คู่มือครู
ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “แม่เหล็ก”
ส่วนประกอบของชุดการสอน
1. บทเรียน จัดเป็นศูนย์การเรียน 2 ศูนย์ และแต่ละศูนย์มีส่วนประกอบดังนี้
ศูนย์ที่ 1 คุณสมบัติของแม่เหล็ก ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
ศูนย์ที่ 2 แยกประเภทสิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้ ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
คำชี้แจงสำหรับครู
แผนผังการจัดชั้นเรียน
1
โต๊ะครู
2
1. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม
2. ครูจัดชั้นเรียนและจัดวางสื่อการสอน
3. ครูศึกษาเนื้อหาที่ต้องสอนให้ละเอียดพอสมควร และศึกษาชุดการสอนให้รอบคอบ
4. ก่อนสอนครูต้องเตรียมชุดการสอนไว้บนโต๊ะให้เรียบร้อยและให้เพียงพอกับนักเรียนแต่ละกลุ่ม
5. ก่อนสอนครูจะต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเสียก่อน
6. ก่อนสอนครูต้องชี้แจงให้นักเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของนักเรียนในการใช้ชุดการสอน (ดูบทบาทนักเรียน)
7. ขณะที่นักเรียนทำกิจกรรม ครูไม่ควรพูดเสียงดัง หากมีอะไรจะพูดต้องพูดเป็นรายกลุ่ม
8. ขณะที่นักเรียนประกอบกิจกรรม ครูต้องเดินดูการทำงานของนักเรียนแต่ละกลุ่มอย่างใกล้ชิด หากมีนักเรียนกลุ่มใดมีปัญหา ครูควรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ
9. ถ้านักเรียนกลุ่มใดทำกิจกรรมเร็วเกินไป ครูก็ควรให้ไปทำกิจกรรมพิเศษที่เตรียมไว้ 10. การเปลี่ยนกิจกรรมกระทำได้เมื่อ
1) เปลี่ยนพร้อมกันทุกคน หากทำกิจกรรมเสร็จพร้อมกัน
2) หากมีคนใดเสร็จก่อน โดยกลุ่มอื่นยังไม่เสร็จก็ให้กลุ่มที่เสร็จก่อนเปลี่ยนไปยังศูนย์อื่นต่อไป
11. ก่อนบอกให้นักเรียนเปลี่ยนศูนย์ ครูจะต้องเน้นให้นักเรียนเก็บชุดสื่อการสอนของตนเองไว้ในสภาพเรียบร้อย ห้ามถือติดมือไปด้วย และขอให้การเปลี่ยนศูนย์เป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
12. การสรุปบทเรียนควรจะเป็นกิจกรรมร่วมของนักเรียนทุกกลุ่มหรือตัวแทนของนักเรียน
13. หลังจากสอนเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน
14. ในกรณีที่นักเรียนคนใดขาดเรียนในหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ให้นักเรียนเรียนเป็นรายบุคคลจากชุดการสอนที่เตรียมไว้ โดยครูอาจแยกออกมาอย่างละ 1 ชุด สำหรับนักเรียนคนนั้น
15. หลังจากนักเรียนได้เรียนเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ให้ครูเก็บกระดาษคำตอบของนักเรียนไว้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและความก้าวหน้าของการเรียน
*หมายเหตุ ครูจะต้องอ่านบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม ให้นักเรียนฟัง(เพราะอนุบาลอ่านหนังสือยังไม่ได้)
บทบาทของนักเรียน
ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงบทบาทของนักเรียน ดังต่อไปนี้
1. นักเรียนฟังครูอธิบายวิธีทำแบบทดสอบ
2. นักเรียนฟังครูอธิบายกิจกรรมพร้อมทั้งทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม
3. นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมอย่างจริงจังไม่ชวนเพื่อนคุย
4 . เวลาเปลี่ยนศูนย์ขอให้เก็บสื่อการสอนให้เรียบร้อย พร้อมที่นักเรียนกลุ่มอื่นจะมาใช้ได้ทันที ถ้าหากมีอะไรเกิดชำรุดเสียหายต้องรีบแจ้งให้ครูทราบทันที
5. นักเรียนต้องใช้ชุดการสอนอย่างระมัดระวัง
6. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามเวลาที่ครูกำหนดอย่างเคร่งครัด
แผนการจัดการเรียนรู้
โปรดดูหน้าต่อไป
การประเมินผล
1. ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมายให้ทำ
3. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมภายในห้อง
ชุดการสอน
เรื่อง แม่เหล็ก
ศูนย์ที่ 1 คุณสมบัติของแม่เหล็ก
ศูนย์ที่ 2 แยกประเภทสิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้
บัตรคำสั่ง ศูนย์การเรียนที่ 1
คุณสมบัติของแม่เหล็ก
คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ครูอ่านบัตรเนื้อหาพร้อมทั้งให้นักเรียนตอบคำถาม
2. ครูอ่านบัตรกิจกรรมพร้อมทั้งให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม
3. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น
บัตรเนื้อหา ศูนย์การเรียนที่ 1
คุณสมบัติของแม่เหล็ก
แม่เหล็ก มีคุณสมบัติที่สามารถดูดสารที่มีสารแม่เหล็ก เช่นเหล็กหรือโลหะบางชนิด แม่เหล็กจะมีแรงดึงดูดมากบริเวณปลายแท่ง แม่เหล็กถ้าขั้วเหมือนกันจะเกิดแรงผลักกันแต่ถ้าขั้วต่างกันเข้าหากันจะดูดกัน แม่เหล็กจะดึงดูดผ่านวัตถุที่เป็นแก้ว พลาสติก น้ำ หนังยางไม้ ในปัจจุบันมีการนำแม่เหล็กมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่นเป็นส่วนประกอบของประตูตู้เพื่อช่วยตัวประตูให้ติดตัวตู้หรือกล่อง หรือกระเป๋า เราใช้แม่เหล็กเป็นตัวทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงาน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เทป ไมโครโฟน มอเตอร์ไฟฟ้า ใช้แม่เหล็กทำเข็มทิศ ใช้ทำปั้นจั่นสำหรับยกโลหะหนักต่างๆ
บัตรกิจกรรม ศูนย์การเรียนที่ 1
คุณสมบัติของแม่เหล็ก
1.ให้นักเรียนแต่ละคนตกรูปสัตว์รูปผลไม้ที่วางไว้คนละ 2 ชิ้น ห้ามซ้ำกันถ้าหากซ้ำกันให้ตกใหม่
2.พอตกได้ให้บอกว่าได้รูปสัตว์และรูปผลไม้อะไร
3.ให้นักเรียนพลิกไปดูด้านหลังว่าได้ตัวพยัญชนะอะไร
4.ทำไมแม่เหล็กจึงดูดรูปต่างๆขึ้น
บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ ๑
บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ 1
คุณสมบัติของแม่เหล็ก
1.รูปปลา นก ผีเสื้อ หนอน ยีราฟ
2.รูปสตรอเบอรี่ รูปมะเขือ มะเขือเทศ แครอท แตงโม องุ่น
3.ตัวพยัญชนะ ก-ฮ
4.เพราะมีคลิปติด
บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ ๑
บัตรคำสั่ง ศูนย์การเรียนที่ 2
แยกประเภทสิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้และไม่ได้
คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ครูอ่านบัตรเนื้อหาพร้อมทั้งให้นักเรียนตอบคำถาม
2. ครูอ่านบัตรกิจกรรมพร้อมทั้งให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม
3. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น
บัตรเนื้อหา ศูนย์การเรียนที่ 2
แยกประเภทสิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้และไม่ได้
แม่เหล็กสามารถดูดเหล็กด้วยกันได้สิ่งที่เป็นโลหะส่วนอโลหะแม่เหล็กไม่สามารถดูดได้ แม่เหล็กสามารถดูด ตะปู กรรไกร คลิป สิ่งที่แม่เหล็กไม่สามารถดูดได้ กระดาษ ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด แก้ว
บัตรกิจกรรม ศูนย์การเรียนที่ 2
แยกประเภทสิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้และไม่ได้
ให้นักเรียนนำแม่เหล็กไปดูดวัสดุที่วางไว้ จะมีตะปู กรรไกร คลิป ไม้ กระดาษ ดินสอ ยางลบ แก้ว เมื่อดูดแล้วนำไปใส่ในตะกร้าที่แยกไว้จะมี 2 ตะกร้า ตะกร้าที่ 1 ใส่สิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้และตะกร้าที่ 2 ใส่สิ่งที่แม่เหล็กไม่สามารถดูดได้
บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ 2
แยกประเภทสิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้และไม่ได้
ตะกร้าที่ 1 สิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้ ตะปู กรรไกร คลิป
ตะกร้าที่ 2 สิ่งที่แม่เหล็กไม่สามารถดูดได้ ไม้ กระดาษ ดินสอ ยางลบ แก้ว
วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2551
วิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
1. ได้ความรู้เกี่ยวกับการอ่านจับใจความ
2. ได้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนย่อความ
3. ได้ความรู้เกียวกับการเขียนสะกดคำถูก ผิด
วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
1. การเขียนประวัติส่วนตัว
2. การอ่านจับใจความสรุปเป็นภาษาไทย
3. คำนำ คำกิริยา
เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร
1. ได้รู้เกี่ยวกับการใช้ระบบ Gmail
2. ได้รู้เกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์
3. ได้รู้เว็บไซต์การศึกษาในประเทศไทย และห้องสมุด
1. ได้ความรู้เกี่ยวกับการอ่านจับใจความ
2. ได้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนย่อความ
3. ได้ความรู้เกียวกับการเขียนสะกดคำถูก ผิด
วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
1. การเขียนประวัติส่วนตัว
2. การอ่านจับใจความสรุปเป็นภาษาไทย
3. คำนำ คำกิริยา
เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร
1. ได้รู้เกี่ยวกับการใช้ระบบ Gmail
2. ได้รู้เกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์
3. ได้รู้เว็บไซต์การศึกษาในประเทศไทย และห้องสมุด
วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)