วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นวัตกรรมชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องแม่เหล็ก

คู่มือครู

ชุดการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “แม่เหล็ก”

ส่วนประกอบของชุดการสอน
1. บทเรียน จัดเป็นศูนย์การเรียน 2 ศูนย์ และแต่ละศูนย์มีส่วนประกอบดังนี้
ศูนย์ที่ 1 คุณสมบัติของแม่เหล็ก ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
ศูนย์ที่ 2 แยกประเภทสิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้ ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

คำชี้แจงสำหรับครู
แผนผังการจัดชั้นเรียน

1
โต๊ะครู
2

1. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม
2. ครูจัดชั้นเรียนและจัดวางสื่อการสอน
3. ครูศึกษาเนื้อหาที่ต้องสอนให้ละเอียดพอสมควร และศึกษาชุดการสอนให้รอบคอบ
4. ก่อนสอนครูต้องเตรียมชุดการสอนไว้บนโต๊ะให้เรียบร้อยและให้เพียงพอกับนักเรียนแต่ละกลุ่ม
5. ก่อนสอนครูจะต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเสียก่อน
6. ก่อนสอนครูต้องชี้แจงให้นักเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของนักเรียนในการใช้ชุดการสอน (ดูบทบาทนักเรียน)
7. ขณะที่นักเรียนทำกิจกรรม ครูไม่ควรพูดเสียงดัง หากมีอะไรจะพูดต้องพูดเป็นรายกลุ่ม
8. ขณะที่นักเรียนประกอบกิจกรรม ครูต้องเดินดูการทำงานของนักเรียนแต่ละกลุ่มอย่างใกล้ชิด หากมีนักเรียนกลุ่มใดมีปัญหา ครูควรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ
9. ถ้านักเรียนกลุ่มใดทำกิจกรรมเร็วเกินไป ครูก็ควรให้ไปทำกิจกรรมพิเศษที่เตรียมไว้ 10. การเปลี่ยนกิจกรรมกระทำได้เมื่อ
1) เปลี่ยนพร้อมกันทุกคน หากทำกิจกรรมเสร็จพร้อมกัน
2) หากมีคนใดเสร็จก่อน โดยกลุ่มอื่นยังไม่เสร็จก็ให้กลุ่มที่เสร็จก่อนเปลี่ยนไปยังศูนย์อื่นต่อไป
11. ก่อนบอกให้นักเรียนเปลี่ยนศูนย์ ครูจะต้องเน้นให้นักเรียนเก็บชุดสื่อการสอนของตนเองไว้ในสภาพเรียบร้อย ห้ามถือติดมือไปด้วย และขอให้การเปลี่ยนศูนย์เป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
12. การสรุปบทเรียนควรจะเป็นกิจกรรมร่วมของนักเรียนทุกกลุ่มหรือตัวแทนของนักเรียน
13. หลังจากสอนเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน
14. ในกรณีที่นักเรียนคนใดขาดเรียนในหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ให้นักเรียนเรียนเป็นรายบุคคลจากชุดการสอนที่เตรียมไว้ โดยครูอาจแยกออกมาอย่างละ 1 ชุด สำหรับนักเรียนคนนั้น
15. หลังจากนักเรียนได้เรียนเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ให้ครูเก็บกระดาษคำตอบของนักเรียนไว้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและความก้าวหน้าของการเรียน
*หมายเหตุ ครูจะต้องอ่านบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม ให้นักเรียนฟัง(เพราะอนุบาลอ่านหนังสือยังไม่ได้)
บทบาทของนักเรียน
ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงบทบาทของนักเรียน ดังต่อไปนี้
1. นักเรียนฟังครูอธิบายวิธีทำแบบทดสอบ
2. นักเรียนฟังครูอธิบายกิจกรรมพร้อมทั้งทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม
3. นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติกิจกรรมอย่างจริงจังไม่ชวนเพื่อนคุย
4 . เวลาเปลี่ยนศูนย์ขอให้เก็บสื่อการสอนให้เรียบร้อย พร้อมที่นักเรียนกลุ่มอื่นจะมาใช้ได้ทันที ถ้าหากมีอะไรเกิดชำรุดเสียหายต้องรีบแจ้งให้ครูทราบทันที
5. นักเรียนต้องใช้ชุดการสอนอย่างระมัดระวัง
6. นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามเวลาที่ครูกำหนดอย่างเคร่งครัด

แผนการจัดการเรียนรู้
โปรดดูหน้าต่อไป

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมายให้ทำ
3. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมภายในห้อง



ชุดการสอน
เรื่อง แม่เหล็ก

ศูนย์ที่ 1 คุณสมบัติของแม่เหล็ก
ศูนย์ที่ 2 แยกประเภทสิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้

บัตรคำสั่ง ศูนย์การเรียนที่ 1
คุณสมบัติของแม่เหล็ก

คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ครูอ่านบัตรเนื้อหาพร้อมทั้งให้นักเรียนตอบคำถาม
2. ครูอ่านบัตรกิจกรรมพร้อมทั้งให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม
3. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น



บัตรเนื้อหา ศูนย์การเรียนที่ 1
คุณสมบัติของแม่เหล็ก

แม่เหล็ก มีคุณสมบัติที่สามารถดูดสารที่มีสารแม่เหล็ก เช่นเหล็กหรือโลหะบางชนิด แม่เหล็กจะมีแรงดึงดูดมากบริเวณปลายแท่ง แม่เหล็กถ้าขั้วเหมือนกันจะเกิดแรงผลักกันแต่ถ้าขั้วต่างกันเข้าหากันจะดูดกัน แม่เหล็กจะดึงดูดผ่านวัตถุที่เป็นแก้ว พลาสติก น้ำ หนังยางไม้ ในปัจจุบันมีการนำแม่เหล็กมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่นเป็นส่วนประกอบของประตูตู้เพื่อช่วยตัวประตูให้ติดตัวตู้หรือกล่อง หรือกระเป๋า เราใช้แม่เหล็กเป็นตัวทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงาน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เทป ไมโครโฟน มอเตอร์ไฟฟ้า ใช้แม่เหล็กทำเข็มทิศ ใช้ทำปั้นจั่นสำหรับยกโลหะหนักต่างๆ



บัตรกิจกรรม ศูนย์การเรียนที่ 1
คุณสมบัติของแม่เหล็ก

1.ให้นักเรียนแต่ละคนตกรูปสัตว์รูปผลไม้ที่วางไว้คนละ 2 ชิ้น ห้ามซ้ำกันถ้าหากซ้ำกันให้ตกใหม่
2.พอตกได้ให้บอกว่าได้รูปสัตว์และรูปผลไม้อะไร
3.ให้นักเรียนพลิกไปดูด้านหลังว่าได้ตัวพยัญชนะอะไร
4.ทำไมแม่เหล็กจึงดูดรูปต่างๆขึ้น



บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ ๑


บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ 1
คุณสมบัติของแม่เหล็ก


1.รูปปลา นก ผีเสื้อ หนอน ยีราฟ
2.รูปสตรอเบอรี่ รูปมะเขือ มะเขือเทศ แครอท แตงโม องุ่น
3.ตัวพยัญชนะ ก-ฮ
4.เพราะมีคลิปติด



บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ ๑


บัตรคำสั่ง ศูนย์การเรียนที่ 2
แยกประเภทสิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้และไม่ได้


คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ครูอ่านบัตรเนื้อหาพร้อมทั้งให้นักเรียนตอบคำถาม
2. ครูอ่านบัตรกิจกรรมพร้อมทั้งให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม
3. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น



บัตรเนื้อหา ศูนย์การเรียนที่ 2
แยกประเภทสิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้และไม่ได้

แม่เหล็กสามารถดูดเหล็กด้วยกันได้สิ่งที่เป็นโลหะส่วนอโลหะแม่เหล็กไม่สามารถดูดได้ แม่เหล็กสามารถดูด ตะปู กรรไกร คลิป สิ่งที่แม่เหล็กไม่สามารถดูดได้ กระดาษ ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด แก้ว


บัตรกิจกรรม ศูนย์การเรียนที่ 2
แยกประเภทสิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้และไม่ได้
ให้นักเรียนนำแม่เหล็กไปดูดวัสดุที่วางไว้ จะมีตะปู กรรไกร คลิป ไม้ กระดาษ ดินสอ ยางลบ แก้ว เมื่อดูดแล้วนำไปใส่ในตะกร้าที่แยกไว้จะมี 2 ตะกร้า ตะกร้าที่ 1 ใส่สิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้และตะกร้าที่ 2 ใส่สิ่งที่แม่เหล็กไม่สามารถดูดได้



บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ 2
แยกประเภทสิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้และไม่ได้



ตะกร้าที่ 1 สิ่งที่แม่เหล็กสามารถดูดได้ ตะปู กรรไกร คลิป
ตะกร้าที่ 2 สิ่งที่แม่เหล็กไม่สามารถดูดได้ ไม้ กระดาษ ดินสอ ยางลบ แก้ว

ไม่มีความคิดเห็น: